กลุ่มวิชาสังคม ม,5/6

1.
" -ตามนั้นเลย-Power-Team-"

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

"โลกสวยเริ่มที่ห้องเรียนเรา"

สัปดาห์นี้กลุ่มของพวกผมได้ทำความช่วยกันทำความสะอาดหลังเลิกเรียนที่ห้อง323 เพื่อช่วยกันรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมาช่วยกันทำความสะอาดกันน่ะครับ

...


ก่อนจะกวดต้องโชว์ลีลาควงไม้ก่อน ฮ่าๆๆ


กว่าจะเริ่มกวาดได้น่ะแหม่!!



กวาดเข้าไปอย่าได้ถอย!!!


ท่ากวาดอย่างกับพระเอกMVน่ะครัชแหม่ ฮ่าๆๆ

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ชั้นบรรยากาศคืออะไร??

ชั้นบรรยากาศคืออะไร 


     ชั้นบรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้ชั้นบรรยากาศคงสภาพอยู่ได้  ชั้นบรรยากาศมีความหนารวมแล้วประมาณ 310 ไมล์  อากาศในชั้น บรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก 


การแบ่งชั้นบรรยากาศ สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบ ดังต่อไปนี้
     1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง
     2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
     3.แบ่งชั้fนบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์
     4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา
1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ
     1. ชั้นบรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบน
          1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ เมฆ  พายุ  ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ  เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้  อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ 

          2. สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เอง ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลต

          2. สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เอง ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์  ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์และพืช  ไม่ให้ส่องลงมากระทบถึงพื้นโลก   ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนแตกตัว และจัดรูปแบบขึ้นใหม่เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วง ของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี

         3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง  83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วน

         3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง  83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆ ไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน

    

     2. บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติ ตรงข้ามกับบรรยากาศส่วนล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อน มาก บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ

          1. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส 

          1. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอกซ์ทำให้แตกตัว

          2. เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดัน

          2. เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดันภายในร่างกาย ต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้

          3. แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆ อยู่เลย 

          3. แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆ อยู่เลย 
2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้นดังนี้ 
     1. โทรโพสเฟียร์ (Troposhere) อยู่ระหว่าง 0-10 กม. โดยอุณหภูมิจะค่อยๆลดลงตามความสูง โดยเฉลี่ยกม.ละ 6.5องศา c เป็นชั้นที่สำคัญมากเพราะเป็นบริเวณที่มีไอนำ เมฆ หมอก และพายุ
     2. สตราโตสเฟียร์ (Stratoshere) อยู่ระหว่างความสูง 10-50 กม. เป็นชั้นที่ไม่มีเมฆ มักใช้ในการเดินทางทางอากาศ โดยอุณหภูมิจะคงที่ จนถึงความสูง 50 กม. และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตรา0.5 องศา c ต่อ1กม.

     3. เมโซสเฟียร์ (Mesosphere)  เป็นชั้นบรรยากาศระหว่าง 50-80 กม. โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง

     4. เทอร์โมสเฟียร์(Thermoshere) ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลง อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1727 องศา c โดยชั้นนี้จะมีความ

     3. เมโซสเฟียร์ (Mesosphere)  เป็นชั้นบรรยากาศระหว่าง 50-80 กม. โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง
     4. เทอร์โมสเฟียร์(Thermoshere) ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลง อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1727 องศา c โดยชั้นนี้จะมีความหนาแน่นของอนุภาคต่างๆจางมาก แต่ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า อิออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ บรรยากาศในชั้นนี้ถือเป็นบริเวณที่เปลี่ยนจากบรรยากาศของโลกมาเป็นก๊าซระหว่างดาวที่เบาบาง และเป็นชั้นนอกสุดของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เรียกว่า เอกโซสเฟียร์

     นอกจากนี้ ยังเรียก ชั้นโฮโมสเฟียร์ คือ ชื่อเรียกบรรยากาศชั้น โทรโพรสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์และมีโซสเฟียร์รวมกัน 

     นอกจากนี้ ยังเรียก ชั้นโฮโมสเฟียร์ คือ ชื่อเรียกบรรยากาศชั้น โทรโพรสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์และมีโซสเฟียร์รวมกัน 
3. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้น คือ
     1. โทรโพสเฟียร์  เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดกับพื้นโลก สูง 0-10 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ ไอน้ำ
     2. โอโซโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง10-50 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ โอโซน
     3. ไอโอโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง 80-600 กม. มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน
     4. เอกโซเฟียร์  เป็นชั้นบรรยากาศซึ่งสูงตั้งแต่ 600 กม. ขึ้นไป โดยความหนาแน่นของอะตอมต่างๆ มีค่าน้อยลง
4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา แบ่งได้ 5 ชั้น ดังนี้
     1. บริเวณที่มีอิทธิพลความฝืด ระหว่าง 0-2 กม. 
     2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและบน อุณหภูมิจะลดลงสม่ำเสมอ ตามความสูง
     3. โทรโพพอส เป็นเขตแบ่งว่า มีไอน้ำกับไม่มีไอน้ำ
     4. สตราโตสเฟียร์  มีโอโซนมาก
     5. บรรยากาศชั้นสูง คล้ายกับเอกโซสเฟียร์




ข้อมูลจาก eduzones.com
รูปภาพจาก thaispaceweather.com




วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

"โลกสวยเริ่มที่โรงเรียนเรา"

"โลกสวยเริ่มที่โรงเรียนเรา" 

สัปดาห์นี้กลุ่มของพวกผม Heal The World By GREEN TEAM ได้ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเริ่มที่ตัวเราและโรงเรียนเรา พวกเราจึงได้ไปเก็บขยะทิ้งลงถังและช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมบริเวณอาเขต ลานกีฬาหน้าเสาธงตลอดจนสนามตระกร้อ สนามฟุตซอล สนามวอลเล่ และ สนามบาส เพื่อช่วยกันทำให้โรงเรียนเราหน้าอยู่และมีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดขึ้น พวกเราจึงอยากชวนเพื่อนๆชาวเบญจมทุกคนมาร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมกันครับ เพราะ "โลกสวยเริ่มที่ตัวเราและโรงเรียนของเรา" ครับ 

กลุ่มเรานอกจากหน้าตาดีแล้วยังจิตใจดีรักสิ่งแวดล้อมด้วยน่ะครัช อิอิ
...







...

"Heal the world make it a better place
For you and for me and the entire human race 
There are people dying if you care enough for the living 
Make a better place for you and for me"



วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สิบเหตุผลที่ถ่านหินไม่มีวันสะอาด



ท่ามกลางม่านหมอกควันมลพิษในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน สิ่งที่โรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังบิดเบือนความจริงก็คือ มายาคติที่ว่า “ถ่านหินสะอาด” อันที่จริงแล้ว ถ่านหินสะอาดคือความพยายามของภาคอุตสาหกรรมเพื่อลบล้างภาพลักษณ์ที่สกปรก เป็นคำประดิษฐ์ของอุตสาหกรรมถ่านหิน มิใช่ถ่านหินชนิดใหม่แต่อย่างใด และนี่คือสิบเหตุผลง่ายๆ ที่ถ่านหินไม่มีสะอาด
หนึ่ง
เทคโนโลยีการเผาที่พ่นหินปูนเข้าไปในเตาเผาเพื่อให้หินปูนทำหน้าที่ดูดซับกำมะถันไม่ช่วยให้การเผาถ่านหินเป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร เนื่องจากเทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหินสะอาดวิธีอื่นยังคงอยู่ในขั้นตอนการเริ่มพัฒนา และไม่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาประสิทธิภาพได้เกินร้อยละ 43 อาจจะได้รับการพัฒนาให้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 50 ในอีก 100 ปีข้างหน้า แต่ก่อนจะถึง 100 ปีนั้นสิ่งแวดล้อมจะต้องถูกทำลายไปอย่างไม่สามารถหวนคืน
สอง
การทำความสะอาดถ่านหินจะช่วยลดระดับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และ แร่ธาตุในถ่านหิน ไม่เป็นความจริง เนื่องจากผลจากการทำความสะอาดถ่านหินทำให้เกิดสารอันตรายจำนวนมาก โดยการนำถ่านหินไปกองไว้รวมกัน และให้น้ำฝนเป็นตัวชะล้าง โดยน้ำฝนจะชะเอาสารพิษออกจากถ่านหินและน้ำเสียเหล่านั้นก็จะไหลลงสู่แม่น้ำ และลำธารน้ำเสียจะเต็มไปด้วยกรดและโลหะหนักต่างๆ แต่ซัลเฟอร์ไม่ใช่มลพิษชนิดเดียว ยังมีปรอทที่ไม่สามารถควบคุมได้
สาม
การเผาไหม้โดยใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดไม่สามารถควบคุมมลพิษให้กับโรงไฟฟ้าด้วยการลดการปล่อยก๊าซที่ปนสารพิษได้จริง ถ่านหินประกอบด้วยวัสดุที่ไม่สามารถเผาไหม้ประมาณร้อยละ 7-30 และจะต้องมีการกำจัดขั้นสุดท้ายในที่สุด เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดพยายามดักจับกากของเสียเหล่านี้ก่อนที่จะถูกปล่อยออกทางปล่องของโรงไฟฟ้า กากของเสียพร้อมด้วยสารพิษตกค้างเหล่านี้ไม่ได้หายไปไหน การใช้ถ่านหินที่มีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งมีปริมาณเถ้าและซัลเฟอร์ต่ำกว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเสียออกทางปล่อง และเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นได้ แต่ประสิทธิภาพด้านความร้อนจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 แน่นอนว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะใช้ดักจับปรอทที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินได้  
สี่
ถ่านหินสะอาด คือ วิธีการปล่อยทิ้งมลพิษจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งในที่สุดก็ยังคงปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมอยู่นั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่มีการเผาไหม้ถ่านหิน ก็จะมีการปล่อยสารปนเปื้อนออกมา ซึ่งอาจอยู่ในรูปของเถ้าลอย ก๊าซที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ น้ำเสีย หรือ กากของเสีย ที่ถูกทิ้งไว้หลังการเผาไหม้ ท้ายที่สุดล้วนแต่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ห้า
การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ที่กล่าวว่าสามารถจับคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล และกักเก็บมันไว้ในทะเล หรือใต้ผิวโลก มีราคาต้นทุนการผลิตพลังงานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40 เป็น 80 เกิดรายจ่ายมากขึ้นในระยะยาว การเฝ้าระวังและการตรวจสอบที่กินเวลานานนับทศวรรษเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับคาร์บอนไดออกไซด์ที่เก็บไว้ แม้กระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดในการเข้าไปแทรกแซงเพื่อป้องกันหรือควบคุมเหตุการณ์รั่วไหลที่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยความไม่แน่นอนนี้เองจึงไม่ไม่ใช่เทคโนโลยีสำหรับวันนี้หรือในอนาคต
หก
ต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่สามารถประเมินค่าได้ ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้ถ่านหินเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เหมือง คนงานในเหมืองเสี่ยงต่อการเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และความเจ็บป่วย ชุมชนท้องถิ่นต้องได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ำเสียที่มีภาวะเป็นกรดจากโรงไฟฟ้าลงสู่แม่น้ำและลำธาร การปล่อยสารปรอทและสารพิษอื่นๆ ในกระบวนการเผาไหม้ รวมถึงก๊าซที่ทำลายสภาพภูมิอากาศ และสุขภาพมนุษย์
เจ็ด
ถ่านหินเป็นหนึ่งในสาเหตุอันดับต้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากเหมืองขึ้นสู่ท้องฟ้า จากการขุดเจาะไปจนถึงการเผาไหม้ ก่อให้เกิดมลพิษในทุกขั้นตอนการผลิต โดยถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เต็มไปด้วยธาตุคาร์บอน โดยปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์มากกว่าน้ำมันร้อยละ 29 และปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ มากกว่าก๊าซถึงร้อยละ 80
แปด
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินโดยทั่วไป อาทิโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่นั้นต้องใช้น้ำอย่างน้อย 104,330 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำหล่อเย็นของโครงการโรงไฟฟ้าจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำ อย่างน้อย 66,960 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ นอกจากนี้ถ่านหินที่ตกลงทะเลจะก่อมลพิษในท้องทะเลและสร้างสารพิษปนเปื้อนเมื่อรับประทานอาหารทะเลที่จับได้ในบริเวณนั้น
เก้า
การขนส่งถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศจำเป็นต้องขนส่งทางเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ ซึ่งระหว่างที่เรือเดินทางในทะเลนั้นจะทำลายแนวปะการัง ห่วงโซ่อาหาร สัตว์น้ำทั้งหมด รวมถึงทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อนในอาหารทะเล
สิบ
ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและร้องเรียนต่อผู้สนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่มักจะถูกเพิกเฉยเนื่องจากได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ และไม่ใส่ใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการ EHIA ของโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นมักเกิดขึ้นโดยไม่รับฟังเสียงคัดค้านของชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกับการเกิดขึ้นของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสกปรก
ร่วมลงชื่อหยุดยั้งโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ได้ที่ www.protectkrabi.org
อ้างอิง http://www.greenpeace.org/seasia/th/