กลุ่มวิชาสังคม ม,5/6

1.
" -ตามนั้นเลย-Power-Team-"

วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ร่วมแรงร่วมใจรักน้ำรักโลก ด้วย EM BALL

สวัสดีครับสัปดาห์นี้กลุ่มของพวกผมได้ลงพื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมกันครับ โดยพวกผมได้เลือกใช้ EM BALL เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำที่สำคัญของจังหวัดราชบุรีครับ นั่นคือแม่น้ำแม่กลองนั่นเอง
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ EM BALL กันก่อนดีกว่าครับ  EM Ball (อีเอ็มบอล) ย่อมาจาก Effective Microorganism Ball หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว สีน้ำตาล กลิ่นหวานอมเปรี้ยว ซึ่ง ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้คิดค้นขึ้น เพื่อจะนำมันมาใช้บำบัดน้ำเน่าเสีย ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้

ประโยชน์ของ EM BALL ได้แก่
-ใช้ในการปรับเศษอาหารจากครัวเรือน ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีประโยชน์ต่อพืชผักได้
-ช่วยปรับสภาพน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน โรงงาน โรงแรมหรือแหล่งน้ำเสีย
-ช่วยดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะที่หมักหมมมานานได้

แม่น้ำแม่กลองเป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดราชบุรี บางครั้งเราปล่อยปะละเลยไม่ดูแลความสะอาดให้ดี ทั้งๆที่มันเป็นความรับผิดชอบของเราชาวราชบุรีทุกคน ผมและคณะจึงได้มาทำการโยน EM BALL เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมแล้วเป็นตัวอย่างให้คนอื่นเห็นและมาช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนครับ

เตรียมพร้อม!!!!!




โยนหายไปใหนแล้วหว่าาาาาา



เพื่อน้ำที่ใสสะอาดเราต้องช่วยกันน่ะครับ






ภาพเก็บตกจากทีมงานและผองเพื่อน
...

มันเหลืออีกลูกเลยเอามาโยนเล่นดีกว่า ฮ่าาาๆ


สุดท้ายนี้อย่าลืมน่ะครับ
....
โลกสวยต้องเริ่มด้วยมือเรา
...
ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานครับ
>_<


"ถึงทีมงานจะไม่หล่อ แต่ก็รักโลกสุดหัวใจน่ะครับ"

-3-









วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล...

มหาสมุทรเป็นของทุกคน คำกล่าวที่ว่า “One planet, One Ocean” อาจเป็นแนวคิดที่ฟังเป็นอุดมคติของนักอนุรักษ์ แต่ทฤษฎีของนักธรณีวิทยาได้พิสูจน์ให้เราเห็นว่าก่อนที่เปลือกโลกจะแยกออกจากันนั้น มหาสมุทรของโลกเชื่อมเป็นผืนเดียวกัน
Greenpeace divers together with scientists from Silliman University, Apo island community members, the Marine Protected Area Management Board and Apo island dive wardens, unfurl a banner reading "Save our Seas".The Marine Protected Area (MPA) was destroyed by Typhoon Pablo in December 2012. An increase in extreme weather events is one of the predicted effects of climate change. Greenpeace is in Apo island as part of its Philippine leg of the  Ocean Defenders Tour of South East Asia".
มหาสมุทร เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลก แบ่งออกเป็น 4 มหาสมุทรโดยใช้ทวีปและกลุ่มเกาะขนาดใหญ่เป็นแนวแบ่ง ดังนี้ มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตร ปริมาตร 1,370 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,790 เมตร
ตัวเลขดังกล่าวอาจทำให้เราจินตนาการถึงผืนน้ำขนาดใหญ่ที่ดูเหมือนจะไร้ขอบเขตไร้ที่สิ้นสุด แต่ท่ามกลางความกว้างใหญ่ของมหาสมุทรนี้ เราอาจไม่รู้ว่ามหาสมุทรกำลังถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่กำลังเร่งให้มหาสมุทรมีความเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรม การทำประมงเกินขนาด (Over fishing) และการใช้เครื่องมือประมงแบบทำลายล้าง ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้ทำให้สัตว์ทะเลหลายชนิดกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ซึ่งชนิดพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ คือ ฉลาม ผู้ล่าของท้องทะเล โดยข้อมูลปี พ.ศ. 2556 องค์กรที่มีการรณรงค์หยุดบริโภคฉลามที่สำคัญในประเทศไทย เช่น องค์กร Fin-Free Thailand ให้ข้อมูลว่าฉลามถูกฆ่าประมาณ 100 ล้านตัวต่อปี โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น ติดมากับอวนของชาวประมงซึ่งส่วนใหญ่เป็นอวนแบบผิดกฏหมาย ขณะนี้จำนวนฉลามและสัตว์น้ำอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงอย่างน่าตกใจ อาจถึงเวลาที่เราต้องตั้งคำถามว่า เราควรหันมาปกป้องฉลามและสัตว์ทะเลต่างๆ แล้วหรือยัง
ย้อนกลับมาดูสถานการณ์ทะเลไทยกันบ้างข้อมูลจากสถิติการทำประมงที่กรมประมงศึกษาวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ที่มีการนำอวนลากเข้ามาใช้ในประเทศไทยโดยเรืออวนลาก คือเรือที่ใช้อวนขนาดใหญ่ตาถี่ โดยมีแผ่นโลหะและยางขนาดใหญ่ที่จะเคลื่อนกวาดหน้าดินใต้ทะเลพร้อมกับอวนที่ถี่มากพบว่า อัตราการจับสัตว์น้ำของอวนลาก อยู่ที่ชั่วโมงละ 297.6 ก.ก. ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการจับสัตว์น้ำจากอ่าวไทยพุ่งขึ้นมากหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับผลจับก่อนหน้านี้ แต่แล้วกลับเริ่มลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยในปี พ.ศ. 2525 อัตราการจับเหลือชั่วโมงละ 49.2 ก.ก. และเหลือเพียงชั่วโมงละ 22.78 ก.ก. ในปี พ.ศ. 2534 และเป็นที่น่าตกใจ ที่พบว่า ในปี พ.ศ. 2549 อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยของอ่าวไทยตอนบนเหลืออยู่เพียงชั่วโมงละ 14.126 ก.ก. เท่านั้น  ในขณะที่งานวิจัยเรื่ององค์ประกอบของผลผลิตอวนลากได้ พบว่าสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องการมีเพียงร้อยละ 33.3 ที่เหลือเป็นปลาเป็ดร้อยละ 66.7 และร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ดเป็นสัตว์ส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อน สัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อนในทะเลไทยถูกกวาดขึ้นมาด้วยเรืออวนลากเข้าสู่โรงงานปลาป่นและป้อนให้กับธุรกิจอาหารสัตว์อย่างไม่มีใครสามารถควบคุมได้แม้แต่อำนาจรัฐ
เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลคือคำตอบ... 
เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล คืออาณาเขตทางทะเลที่ซึ่งสรรพสิ่งได้รับการคุ้มครองจากการคุกคามของมนุษย์ ที่ซึ่งทุกคนในโลกมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อรักษาความสวยงามและความหลายทางชีวภาพไว้อย่างยั่งยืนให้รุ่นลูกรุ่นหลาน
ในปัจจุบันทะเลและมหาสมุทรทั่วโลกยังไม่มีเขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครองระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่มีประสิทธิภาพ โดยพื้นที่ที่มีการกำหนดและมีข้อตกลงในทางปฎิบัติที่ใกล้เคียงกันส่วนใหญ่จะมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองเฉพาะพืชหรือสัตว์บางชนิดพันธุ์หรือเพื่อควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเท่านั้น  โดยจำนวนและขนาดของพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งส่วนใหญ่จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลพื้นที่คุ้มครองทั่วโลก(The World Database on Protected Areas: WDPA) จากข้อมูลดังกล่าวมีข้อสังเกตว่า พื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตคุ้มครองนั้นมีข้อจำกัดในบางประเด็น คือ การไม่ได้ระบุถึงพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจนของพื้นที่คุ้มครองหลายแห่ง ทำให้การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่คุ้มครองแห่งนั้นๆ อย่างสมบูรณ์เป็นไปได้ยาก
ก่อนที่ฉลามจะหมดทะเล ก่อนที่สัตว์น้ำอันเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลกสูญสิ้น ก่อนที่ทะเลจะเหลือเพียงแค่ท้องน้ำอันว่างเปล่าและมลพิษ เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลคงเป็นคำตอบสำคัญที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และจากระดับนานาชาติ ในการกู้วิกฤติมหาสมุทรและทะเลที่กำลังมีสัตว์น้ำจำนวนน้อยลงอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
Note
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก สมาคมรักษ์ทะเลไทย
Ocean sanctuaries proposal

แถลงการณ์ของกรีนพีซ ปล่อยตัวนักกิจกรรม "ขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน" รับฟังเสียงของประชาชนเพื่อระบบพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรม

จากการที่กลุ่มขาหุ้นปฏิรูปพลังงานทำการรณรงค์ "เดินวันละโยชน์ เพื่อประโยชน์ของคนทั้งชาติ” จากหาดใหญ่ถึงกรุงเทพฯ โดยมีระยะทางรวมกันกว่า1,000 กิโลเมตร และต่อมาในวันที่สองของการเดินเท้า ฝ่ายทหารและความมั่นคงได้ใช้อำนาจตามกฏอัยการศึกเข้าจับกุมแกนนำและนักกิจกรรมขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน11 คนไปที่ค่ายเสนาณรงค์ จังหวัดสงขลาโดยยังไม่มีกำหนดการปล่อยตัว การจำกัดกิจกรรมรณรงค์ภาคประชาชนโดยฝ่ายทหารภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันกับที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในขณะที่กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติกำลังดำเนินไป
ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า “ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองทั้งหลายต้องเผชิญกับความท้าทายแห่งอนาคตของการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นการปฏิรูปประเทศ 11 ประเด็น และถือเป็นภารกิจท้าทายของสภาปฏิรูปแห่งชาติเนื่องจากวาระการปฏิรูปพลังงานนั้นถูกครอบงำโดยกลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล การปฏิรูปพลังงานนั้นจะต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของทุกคนในชาติ มิใช่การจำกัดและกีดกันภาคประชาชนออกจากกระบวนการ
ธารา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรีนพีซเรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ปล่อยตัวนักกิจกรรมขาหุ้นปฏิรูปพลังงานที่ถูกกักตัวไว้ในค่ายทหารโดยทันที และเมื่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเริ่มปฏิบัติงานนั้นจำเป็นต้องเปิดกว้างรับฟังเสียงของประชาชนคนทั่วไปที่เรียกร้องการพัฒนาเศรษฐกิจและระบบพลังงานสะอาดที่ยั่งยืนอย่างจริงจังมิใช่ยึดติดกับถ่านหินสกปรก มลภาวะ กากของเสียเป็นพิษและผลกระทบดัานสุขภาพของประชาชน
สัปดาห์ที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่งขณะได้รับเลือกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่ออภิปรายเรื่องแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือแผนพีดีพีฉบับใหม่ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานอย่างโปร่งใสและรับฟังเสียงของประชาชน กรีนพีซต้องการเห็นพลเอกประยุทธ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ยืนหยัดต่อคำมั่นที่ให้ไว้
ธาราระบุว่า กรีนพีซเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีชุดที่จะมีการตั้งขึ้นใหม่ถอยห่างจากพลังงานสกปรก ยุติการสร้างไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ "เราเรียกร้องต่อรัฐบาลชุดใหม่เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และถอดถ่านหินและนิวเคลียร์ออกจากแผนพัฒนากำลังผลิดไฟฟ้า ถึงแม้ว่าหัวหน้า คสช. อ้างถึงการถอดนิวเคลียร์ออกจากแผนพีดีพี แต่มีแนวโน้มที่ชี้ให้เห็นว่า การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ที่อันตรายก็น่าจะถูกบรรจุเข้าไปในแผนดีพีในท้ายที่สุด"
ด้วยแนวทางการปฏิรูปพลังงานที่เป็นอยู่ ถือเป็นห้วงเวลาที่ผู้บริหารประเทศต้องเป็นอิสระจากการครอบงำของกลุ่มผลประโยชน์ที่มองแต่ผลกำไรระยะสั้น ทำการศึกษาข้อมูลที่มีอยู่และทำการตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง ภาวะความเป็นผู้นำของประเทศไทยนั้นพิสูจน์ได้จากการลงมือทำเพื่อเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานให้ยั่งยืนและเป็นธรรมซึ่งสร้างงานให้กับคนไทยและเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ไม่ทำลายสุขภาพอนามัยของประชาชนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทางเลือกที่ยั่งยืนของกระบี่คือพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด

กรุงเทพฯ, 21 สิงหาคม 2557-กรีนพีซเผยรายงาน “กระบี่บนทางแพร่ง : ถ่านหินสกปรก หรือ ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด” ระบุถ่านหินไม่ใช่คำตอบของความมั่นคงทางพลังงาน เสนอระบบพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์และผสมผสานเป็นทางออกที่ไม่ทำลายเศรษฐกิจท้องถิ่น ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มีความยั่งยืนต่ออนาคตพลังงานกระบี่และของประเทศไทย
“ทิศทางพลังงานของประเทศไทยกำลังเดินมาถึงทางแยกที่สำคัญ ประชาชนกำลังจับตามองการตัดสินใจของผู้นำประเทศว่าจะทำอนาคตพลังงานไปในทิศทางใด ระหว่างยึดติดกับเชื้อเพลิงถ่านหินที่สกปรกหรือพัฒนาไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและปลอดภัย” นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว “การเสนอแผนโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินที่กระบี่ที่นั้นเป็นการเลือกที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง”
โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังผลิต 870 เมกะวัตต์ เป็นโครงการภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2010 ปรับปรุงครั้งที่ 3) ดำเนินการโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บนพื้นที่โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่มีอยู่เดิมในตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งปัจจุบันผลิตกระแสไฟฟ้าจากน้ำมันเตา ในขณะนี้โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือขนถ่านหินอยู่ในระหว่างกระบวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยมีแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2558 และเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2562
“ประโยชน์โดยรวมที่จะเกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะสร้างขึ้นที่กระบี่ ไม่มีทางที่จะมาชดเชยความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ วิถีชีวิตและการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ได้เลย กระบี่นอกจากจะเป็นศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลของภูมิภาคแล้ว ยังเป็นแหล่งชีวิตความเป็นอยู่และแหล่งรายได้ของคนในท้องถิ่น มูลค่าการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศบริเวณปากแม่น้ำกระบี่ (1) เพื่อการสันทนาการและการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวอยู่ที่ 9.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 311 ล้านบาท) ต่อปี โดยข้อมูลดังกล่าวยังไม่รวมผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น การทำเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงชายฝั่งและการประมง” นายธารา กล่าวเพิ่มเติม
รายงาน “กระบี่บนทางแพร่ง : ถ่านหินสกปรก หรือ ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด” อธิบายถึงแผนการของรัฐบาลและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อขยายโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่แม้ว่ากระบวนการจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพนั้นประสบความล้มเหลว และทั้งๆที่จังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล และมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ รายงานยังระบุถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่น ผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นในอดีตจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเก่าของจังหวัดกระบี่ ความล้มเหลวของการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่สำคัญ รายงานได้นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายด้านทางออกระบบพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์และผสมผสาน (decentralized Hybrid Renewable Energy System) (2)
“จังหวัดกระบี่มีศักยภาพในการเป็นต้นแบบและเป็นผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนของประเทศ โดยสามารถพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์และผสมผสานจากศักยภาพพลังงานที่มีในท้องถิ่น เช่น ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ แสงอาทิตย์และลม” ผศ. ดร. จอมภพ แววศักดิ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยด้านพลังงานลมและแสงอาทิตย์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง กล่าว
“ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ริเริ่มนโยบายสนับสนุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน มีโครงการมากมายที่สนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ทำให้ดึงดูดนักลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากนักลงทุนสามารถเห็นสภาวะที่คาดการณ์ได้ในการขายไฟฟ้าให้แก่ภาครัฐ การริเริ่มดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการขยายให้เกิดการลงทุนในวงกว้าง และภาครัฐควรให้การส่งเสริม” ผศ.ดร. จอมภพกล่าวเสริม
กรีนพีซเชื่อว่าการพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียนแบบผสมผสานที่กระบี่เป็นทางออกที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งการปกป้องสภาพภูมิอากาศ ตอบสนองความต้องการไฟฟ้าในพื้นที่ ปกป้องสุขภาพของประชาชน การประมง และการเกษตร ส่งเสริมการสร้างงาน สร้างความเป็นธรรมทางพลังงาน และให้โอกาสในการขยายตัวของการลงทุนของภาคธุรกิจไทย ไม่ใช่การพึ่งพิงเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหินที่ไม่ปลอดภัย ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ไม่ก่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับประเทศ
กรีนพีซยื่นข้อเสนอเชิงนโยบาย ดังนี้
• การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและรัฐบาลภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ เพื่อรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำที่เปราะบาง และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลอันอุดมสมบูรณ์ที่ซึ่งประชาชนนับล้านคนพึ่งพาอาศัยทรัพยากรอันมีค่านี้
• รัฐบาลดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานปี 2554-2573 และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกปี 2555-2564 และเพื่อเป็นการสนับสนุนแผนทั้งสองนี้ควรพิจารณาวางกลไกที่ละเอียดรอบคอบเช่น ร่างกฎหมายพลังงานหมุนเวียน
• รัฐบาลควรมุ่งไปที่การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและปลอดภัยในจังหวัดกระบี่ ภาครัฐและกฟผ.ในจังหวัดกระบี่สามารถดำเนินการตามแผน 5 ขั้นตอน นั่นคือ 1) ประเมินทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน 2) ประมาณความต้องการใช้ไฟฟ้า 3) กำหนดสัดส่วนแหล่งกำเนิดไฟฟ้า 4) ออกแบบเครือข่าย และ 5) พิจารณาระบบควบคุมเพื่อนำพลังงานหมุนเวียนมาเพื่อประชาชน
หมายเหตุ
(1) รายงาน Assessing the Value of Krabi River Estuary Ramsar Site Conservation and Development โดย เพ็ญพร เจนการกิจ ARE Working Paper No. 2553/4, ธันวาคม 2553.http://core.kmi.open.ac.uk/download/pdf/6262443.pdf
(2) ระบบพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์และผสมผสาน คือ การผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนสองแหล่งขึ้นไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและสร้างความสมดุลของแหล่งพลังงาน พลังงานไฟฟ้าผลิตมาจากเทคโนโลยีผลิตพลังงานสองรูปแบบที่ให้กระแสไฟฟ้าและพลังงานความร้อน (บางครั้งพลังงานความเย็น) ส่งกระจายผ่านเครือข่ายชุมชน
(3) สามารถดาวน์โหลดรายงาน “กระบี่บนทางแพร่ง: ถ่านหินสกปรก หรือ ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด” ได้ที่http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/Krabi-at-the-Crossroads/