กลุ่มวิชาสังคม ม,5/6

1.
" -ตามนั้นเลย-Power-Team-"

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล...

มหาสมุทรเป็นของทุกคน คำกล่าวที่ว่า “One planet, One Ocean” อาจเป็นแนวคิดที่ฟังเป็นอุดมคติของนักอนุรักษ์ แต่ทฤษฎีของนักธรณีวิทยาได้พิสูจน์ให้เราเห็นว่าก่อนที่เปลือกโลกจะแยกออกจากันนั้น มหาสมุทรของโลกเชื่อมเป็นผืนเดียวกัน
Greenpeace divers together with scientists from Silliman University, Apo island community members, the Marine Protected Area Management Board and Apo island dive wardens, unfurl a banner reading "Save our Seas".The Marine Protected Area (MPA) was destroyed by Typhoon Pablo in December 2012. An increase in extreme weather events is one of the predicted effects of climate change. Greenpeace is in Apo island as part of its Philippine leg of the  Ocean Defenders Tour of South East Asia".
มหาสมุทร เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลก แบ่งออกเป็น 4 มหาสมุทรโดยใช้ทวีปและกลุ่มเกาะขนาดใหญ่เป็นแนวแบ่ง ดังนี้ มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 361 ล้านตารางกิโลเมตร ปริมาตร 1,370 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,790 เมตร
ตัวเลขดังกล่าวอาจทำให้เราจินตนาการถึงผืนน้ำขนาดใหญ่ที่ดูเหมือนจะไร้ขอบเขตไร้ที่สิ้นสุด แต่ท่ามกลางความกว้างใหญ่ของมหาสมุทรนี้ เราอาจไม่รู้ว่ามหาสมุทรกำลังถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่กำลังเร่งให้มหาสมุทรมีความเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบทิ้งขยะอุตสาหกรรม การทำประมงเกินขนาด (Over fishing) และการใช้เครื่องมือประมงแบบทำลายล้าง ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้ทำให้สัตว์ทะเลหลายชนิดกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ ซึ่งชนิดพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ คือ ฉลาม ผู้ล่าของท้องทะเล โดยข้อมูลปี พ.ศ. 2556 องค์กรที่มีการรณรงค์หยุดบริโภคฉลามที่สำคัญในประเทศไทย เช่น องค์กร Fin-Free Thailand ให้ข้อมูลว่าฉลามถูกฆ่าประมาณ 100 ล้านตัวต่อปี โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น ติดมากับอวนของชาวประมงซึ่งส่วนใหญ่เป็นอวนแบบผิดกฏหมาย ขณะนี้จำนวนฉลามและสัตว์น้ำอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงอย่างน่าตกใจ อาจถึงเวลาที่เราต้องตั้งคำถามว่า เราควรหันมาปกป้องฉลามและสัตว์ทะเลต่างๆ แล้วหรือยัง
ย้อนกลับมาดูสถานการณ์ทะเลไทยกันบ้างข้อมูลจากสถิติการทำประมงที่กรมประมงศึกษาวิจัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ที่มีการนำอวนลากเข้ามาใช้ในประเทศไทยโดยเรืออวนลาก คือเรือที่ใช้อวนขนาดใหญ่ตาถี่ โดยมีแผ่นโลหะและยางขนาดใหญ่ที่จะเคลื่อนกวาดหน้าดินใต้ทะเลพร้อมกับอวนที่ถี่มากพบว่า อัตราการจับสัตว์น้ำของอวนลาก อยู่ที่ชั่วโมงละ 297.6 ก.ก. ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการจับสัตว์น้ำจากอ่าวไทยพุ่งขึ้นมากหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับผลจับก่อนหน้านี้ แต่แล้วกลับเริ่มลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยในปี พ.ศ. 2525 อัตราการจับเหลือชั่วโมงละ 49.2 ก.ก. และเหลือเพียงชั่วโมงละ 22.78 ก.ก. ในปี พ.ศ. 2534 และเป็นที่น่าตกใจ ที่พบว่า ในปี พ.ศ. 2549 อัตราการจับสัตว์น้ำเฉลี่ยของอ่าวไทยตอนบนเหลืออยู่เพียงชั่วโมงละ 14.126 ก.ก. เท่านั้น  ในขณะที่งานวิจัยเรื่ององค์ประกอบของผลผลิตอวนลากได้ พบว่าสัดส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ต้องการมีเพียงร้อยละ 33.3 ที่เหลือเป็นปลาเป็ดร้อยละ 66.7 และร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ดเป็นสัตว์ส่วนของสัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อน สัตว์น้ำที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจวัยอ่อนในทะเลไทยถูกกวาดขึ้นมาด้วยเรืออวนลากเข้าสู่โรงงานปลาป่นและป้อนให้กับธุรกิจอาหารสัตว์อย่างไม่มีใครสามารถควบคุมได้แม้แต่อำนาจรัฐ
เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลคือคำตอบ... 
เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล คืออาณาเขตทางทะเลที่ซึ่งสรรพสิ่งได้รับการคุ้มครองจากการคุกคามของมนุษย์ ที่ซึ่งทุกคนในโลกมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อรักษาความสวยงามและความหลายทางชีวภาพไว้อย่างยั่งยืนให้รุ่นลูกรุ่นหลาน
ในปัจจุบันทะเลและมหาสมุทรทั่วโลกยังไม่มีเขตพื้นที่ที่ให้การคุ้มครองระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลที่มีประสิทธิภาพ โดยพื้นที่ที่มีการกำหนดและมีข้อตกลงในทางปฎิบัติที่ใกล้เคียงกันส่วนใหญ่จะมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองเฉพาะพืชหรือสัตว์บางชนิดพันธุ์หรือเพื่อควบคุมกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเท่านั้น  โดยจำนวนและขนาดของพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งส่วนใหญ่จะถูกบันทึกไว้ในฐานข้อมูลพื้นที่คุ้มครองทั่วโลก(The World Database on Protected Areas: WDPA) จากข้อมูลดังกล่าวมีข้อสังเกตว่า พื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตคุ้มครองนั้นมีข้อจำกัดในบางประเด็น คือ การไม่ได้ระบุถึงพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจนของพื้นที่คุ้มครองหลายแห่ง ทำให้การศึกษาวิเคราะห์พื้นที่คุ้มครองแห่งนั้นๆ อย่างสมบูรณ์เป็นไปได้ยาก
ก่อนที่ฉลามจะหมดทะเล ก่อนที่สัตว์น้ำอันเป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลกสูญสิ้น ก่อนที่ทะเลจะเหลือเพียงแค่ท้องน้ำอันว่างเปล่าและมลพิษ เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลคงเป็นคำตอบสำคัญที่ต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และจากระดับนานาชาติ ในการกู้วิกฤติมหาสมุทรและทะเลที่กำลังมีสัตว์น้ำจำนวนน้อยลงอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
Note
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก สมาคมรักษ์ทะเลไทย
Ocean sanctuaries proposal

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น